เมนู

ก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า เป็นสัมมาสังกัปปะหรือเป็นมิจฉาสังกัปปะ
องค์ฌานแม้ได้อยู่ในสังคหวารก็ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ 5 เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่ยกขึ้นแสดง ส่วนองค์มรรคย่อมไม่ได้โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึง
ไม่ทรงยกขึ้นแสดงสุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ จิตนี้เป็นจิตเนื่องด้วย
วัตถุ คือ อาศัยเกิดที่หทยวัตถุเท่านั้น. ทวารและอารมณ์เป็นสภาพไม่เนื่องกัน
บรรดาทวารและอารมณ์ที่ไม่เนื่องกันเหล่านั้น ทวารและอารมณ์จะก้าวก่ายกัน
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มีฐานเดียวกัน เพราะฐานนี้มีสัมปฏิจฉันนกิจ (กิจคือมี
หน้าที่รับอารมณ์) เหมือนกัน จริงอยู่ จิตดวงนี้ (อัพยากตวิบาก) เป็น
สัมปฏิจฉันนจิต (เป็นจิตรับอารมณ์) ในอารมณ์ 5 ในปัญจทวาร สำเร็จผล
เมื่อวิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากดับแล้ว สันปฏิจฉันน-
จิต (อัพยากตวิบาก) นั้นก็รับอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละมีรูปารมณ์เป็นต้นที่ถึง
ฐานในลำดับทีเดียว.

อธิบายมโนวิญญาณธาตุ


พึงทราบวินิจฉัยในนิสเทสแห่งสันติรณมโนวิญญาณธาตุ. บทว่า ปีติ
เป็นบทอธิกะ (ยิ่ง) ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่ง แม้เวทนาก็เป็นโสมนัสส-
เวทนา เพราะมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ย่อมเป็นไปในอิฏฐารมณ์อย่างเดียว
ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่สอง ย่อมเป็นไปในอิฏฐมัชฌัตตัตตารมณ์ เพราะ
ฉะนั้น ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่สองนี้ จึงเป็นอุเบกขาเวทนา บททั้งหลาย
เป็นเช่นเดียวกันในนิทเทสแห่งมโนธาตุนั่นแหละ ในมโนวิญญาณธาตุ แม้ทั้ง
2 ดวง พระองค์มิได้ทรงยกองค์ฌานขึ้นแสดง เพราะความที่มโนวิญญาณธาตุ
2 ดวงนั้นเป็นธรรมชาติ ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ 5 ทีเดียว

องค์มรรคก็เหมือนกัน มิได้ทรงยกขึ้นแสดงเพราะไม่ได้โดยแท้. คำที่เหลือใน
ที่ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
อนึ่ง ว่าโดยลักษณะเป็นต้น มโนวิญญาณธาตุแม้ทั้ง 2 เป็นอเหตุก-
วิบาก (วิปากจิตไม่มีเหตุประกอบ) มีการรู้อารมณ์ 6 เป็นลักษณะ (สฬา-
รมฺมณวิชานนลกฺขณา)
พึงทราบว่า มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้นเป็นรส
(สนฺติรณาทิรสา) มีความเป็นอย่างนั้น (มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้น
อย่างนั้น) เป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏฺฐานา) มีหทยวัตถุเป็น
ปทัฏฐาน (หทยวตฺถุปทฏฺฐานา).
บรรดามโนวิญญาณธาตุ 2 ดวงนั้น ดวงที่ 1 ย่อมให้ผลในฐานทั้ง 2
จริงอยู่ มโนวิญญาณธาตุดวงที่ 1 นั้น เมื่อมโนธาตุอันเป็นวิบาก (สัมปฏิจ-
ฉันนจิต) รับอารมณ์ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ซึ่งเป็นกุศลวิบากใน
ทวาร 5 นั้นดับแล้วก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จอยู่ในอารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมตั้ง
อยู่ให้ผลในทวาร 5 และย่อมเป็นตทารัมมณะให้ผลในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร
6 ข้อนี้ เป็นอย่างไร ? คือ เปรียบเหมือนเมื่อเรือขวางลำในแม่น้ำกระแสเชี่ยว
ไปอยู่ กระแสน้ำก็แตกติดตามเรือไปสู่ที่หน่อยหนึ่ง แล้วก็ไปตามสมควรแก่
กระแสนั่นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่ออารมณ์มีกำลังปรากฏ
ชัดในทวาร 6 ไปสู่คลองแล้ว ชวนจิตย่อมแล่นไป เมื่อชวนนั้นเสพอารมณ์
แล้วก็เป็นโอกาสของภวังค์ แต่ว่าจิต (สันตรณจิต) นี้ไม่ให้โอกาสแก่ภวังค์ จึง
รับอารมณ์ที่ชวนจิตรับแล้วก็เป็นไปสิ้น 1 วารจิต 2 วารจิตก็หยั่งลงสู่ภวังค์
ทีเดียว. บัณฑิตพึงยังอุปมาด้วยอาการอย่างนี้นั่นแหละให้พิสดาร แม้ในฝูงโคที่
กำลังข้ามแม่น้ำ. มโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ชื่อว่า ตทารัมมณจิต เพราะ
ความที่มโนวิญญาณธาตุนั่นนั่นแหละรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับเอาแล้วให้ผลอยู่.

ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่ 2 ย่อมให้ผลใน 5 ฐาน อย่างไร ? คือ
ในเบื้องต้นให้ผลเป็นปฏิสนธิจิต ในเวลาถือปฏิสนธิของคนบอดแต่เกิด คน
หนวกแต่เกิด คนใบ้แต่เกิด คนบ้าแต่เกิด เป็นอุภโตพยัญชนกและเป็นกระเทย
ในมนุษยโลกประการ 1 เมื่อปฏิสนธิผ่านไปแล้วก็ให้ผลเป็นภวังค์ตลอดอายุ
ประการ 1 ย่อมให้ผลเป็นสันติรณะ (พิจารณา) ในวิถีแห่งอารมณ์ 5 ใน
อิฎฐมัชฌัตตตารมณ์ประการ 1 ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะในอารมณ์ที่มีกำลัง
ในทวาร 6 ประการ 1 ในเวลามรณะให้ผลเป็นจุติจิตประการ 1 มโนวิญญาณ-
ธาตุดวงที่ 2 นี้ย่อมอำนวยผลใน 5 ฐานเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
มโนวิญญาณธาตุ 2 ดวงจบ

มหาวิบาก 8


[415] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ
เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
... เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ
... เกิดขึ้น ฯลฯ